ในการออกแบบพื้น เช่น พื้นทางเดียว (one way) และพื้นสองทาง (two ways) บางครั้งมีการแปลงเหล็กเสริมจากเหล็กเส้น (Rebar) ไปเป็นเหล็กตะแกรง (Wire mesh) ด้วยเหตุผลของราคาและความรวดเร็วในการทำงาน นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายในงานก่อสร้างโรงงาน โกดัง หรือในพื้น post tension
ยังไม่มี code ที่ใช้อ้างอิงหรือมีสูตรคำนวณได้โดยตรง แต่มีหลักการที่กล่าวไว้ใน ACI318-19 Section R20.2.2.1 – Commentary ในการคำนวณกำลังดึงหรืออัดของเหล็กเสริม สามารถใช้ As × fy ได้โดยตรง ซึ่งเป็นพื้นฐานของการแปลงเหล็กเสริมจาก Rebar ไปเป็น Wire Mesh ด้วยหลักกำลังต้านทานแรงดึงเท่ากัน (Tensile Force Equivalence)
.
ในที่นี้จะกล่าวถึงการแปลงด้วยวิธี “กำลังรับแรง (Force Equivalence)” โดยใช้หลักการ
.
As(wm) x fy(wm) = As(bar) × fy(bar)
.
โดยเปรียบเทียบค่ากำลังต้านทานแรงดึง (Tensile Capacity) ของเหล็กเสริมต่อหน่วยความกว้าง (Strip width) ตามหลักการออกแบบ As × fy
.
ตัวอย่างเหล็ก DB12@200mm (fy=4000ksc), As= 1.13 cm^2/เส้น แปลงไปใช้เหล็ก WM9 (fy=5500ksc) As = 0.64 cm^2/เส้น
คิดจำนวนเหล็กต่อแถบกว้าง (Strip) 1m = 100cm , s = ระยะห่างเหล็กตะแกรง
As(wm) x fy(wm) = As(bar) × fy(bar)
0.64 x (100/s) x 5500 = 1.13 x (100/20) x 4000
s = [0.64 x 100 x 5500]/[1.13 x (100/20) x 4000]
s = 15.57 cm
สรุป: เหล็ก DB12@200 mm สามารถทดแทนได้ด้วยเหล็กตะแกรงเชื่อม WM9 @ 150 mm (โดยประมาณ)